วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความรู้พิ้นฐานเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์การกีฬา

             วิทยาศาสตร์การกีฬา (Sports Science) เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งที่ได้รับความสนใจกันอย่างจิงจังเมื่อประมาณ 90 ปีมานี้เอง สาเหตุที่ทำให้คนสนในวิทยาศาสตร์การกีฬาก็เพราะได้มีการนำเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการกีฬา โดยเฉพาะการปรับปรุงท่าทางทักษะกีฬาและสมรรถภาพทางกาย อันจะช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพด้านสมรรถนะทางการกีฬา เป็นผลให้สถิติกีฬาชนิดต่างๆ ดีขึ้น

              ในประเทศไทย วิทยาศาสตร์การกีฬาเริ่มเข้ามามีบทบาทและรู้จักแพร่หลายเมื่อประมาณ 30 ปีมานี้เอง โดยปี พ.ศ. 2509 ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเซียนเกมส์ ครั้งที่ 5  ขึ้น ณ กรุงเทพฯ ศาสตราจารย์ นายแพทย์อวย เกจุสิงห์ นับเป็นบุคคลแรกที่นำเอาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มาช่วยพัฒนามาตราฐานการกีฬาของชาติเรา โดยท่านได้จัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาขึ้นที่โรงพยาบาลศิริราช และในปี พ.ศ. 2511 ได้ย้ายไปอยู่ที่อาคารสนามศุภชลาศัย มีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่องส่งเสริมสุขภาพและสมรรถภาพของนักกีฬา และประชาชนทั่วไป และในปี พ.ศ. 2521 ได้ย้ายไปอยู่ที่อาคารศูนย์ฝึกในร่ม องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (การกีฬาแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน)


     ความหมายของคำว่า "วิทยาศาสตร์การกีฬา" 

 หมายถึงการเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การกีฬาและวิทยาศาสตร์การแพทย์ มาใช้ในการปรับปรุง ท่าทาง ทักษะ ทัศนคติ และวิธีการของการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังการ ให้ได้ประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ ตลอกจนมีความปลอดภัยมากที่สุด 

  

             กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) 

      เป็นวิชาที่ศึกษาโครงสร้าง (Strubture) รูปร่างลักษณะ ตำแหน่งที่ตั้งส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบไหลเวียนของเลือด 

    

            สมรรถภาพทางกาย หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการประกอบกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการทำงานในชีวิตประจำวัน การออกกำลังกาย และการเล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการทดสอบสมรรถภาพทางกายตามแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายภาพ เช่น ยืนกระโดดไกล แรงบีบมือข้างที่ถนัด วิ่งกลับตัว ลุก-นั่ง 30 วินาที ความอ่อนตัว ความจุปอด ดันพื้น 30 วินาที วิ่งระยะไกล  เป็นต้น โดยมีข้อมูลทั่วไป เช่น ส่วนสูง นำหนัก 

       

                                                           

   

              วิทยาศาสตร์การกีฬา  

                 (Sports Science) 



               เป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงสมรรถภาพทางกายหรือการปรับปรุงการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้น องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องและควรจะต้องพิจารณาประกอบ คือ ความบ่อยครั้งของการฝึก ปริมาณ ของการออกกำลังการและชนิดของการออกกำลังกาย สภาวะทางโภชนการ การพักผ่อน ลักษณะตามธรรมชาติของแต่ละบุคคล อุปนิสัยรวมทั้งการประกอบอาชีพของบุคคลนั้นๆ






   ความมุ่งหมาย 

                
                วิทยาศาสตร์การกีฬามีความมุ่งหมายที่จะพัฒนาและส่งเสริมเพื่อสมรรถภาพ โดยใช้กิจกรรมทางด้านพลศึกษาเป็นสื่อ และมุ่งหวังที่จะให้ผู้ศึกษาเกิดในสิ่งต่อไปนี้
          1. เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในกิจกรรมหรือการกีฬาในประเภทนั้นๆ ได้ถูกต้อง (Knowledge, Understanding, and Skill of Sports) 
          2. เพื่อให้เกิดเจตนคติ (Attitudes) ที่ดีต่อการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกาย
          3. เพื่อให้เกิดการฝึกหัด (Practices) อย่างถูกต้อง ตามหลักและวิธีการจนเป็นนิสัย (Habits)
          4. เพื่อให้เห็นความสำคัญของสุขภาพ (Health) และสมรรถภาพทางกาย (Physical Finess) ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ
          5. เพื่อฝึกและพัฒนาในด้านการเคารพในกฏ กติกา และปลูกฝังการมีวินัย การมีน้ำใจนักกีฬา
          6. เพื่อให้เกิดความรู้และเข้าใจ ในเรื่องกายภาคศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและมีบทบาทต่อการเคลื่อนไหวมาก 
          7. เพื่อให้รู้จัก เลือกกิจกรรมกีฬาสำหรับตนเอง และสามารถแนะนำผู้อื่นได้
          8. สามารถกำหนดโปรแกรมการสร้างสมรรถภาพที่เหมาะสมสำหรับตนเองและผู้อื่น ตามวัยและเพศได้
          9. ให้รู้จักป้องกัน หลีกเลี่ยงอันตราย อันอาจจะเกิดขึ้นได้จากการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกาย
          10. ให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์กับการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย







สมรรถภาพทางกายทั่วไป (General Physical fitness)                      

                      
                     คณะกรรมการนานชาติเพื่อจัดมาตราฐานการทดสอบความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย ได้จำแนกตความสมบูรณ์ทางกายออกเป็น 7 ประเภท
           -  ความเร็ว (Speed) คือ ความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด
           - พลังกล้ามเนื้อ (Muscle Power) คือ ความสามารถของกล้ามเนื้อในการทำงานอย่างรวดเร็วในจังหวะของกล้ามเนื้อหดตัวหนึ่งครั้ง เช่น ยืนกระโดดไกล
           - ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscle Strength) คือ ความสามารถของกล้ามเนื้อที่หดตัวเพียงครั้งเดียวโดยไม่จำกัดเวลา เช่น การยกน้ำหนัก เป็นต้น
           - ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscle endurance,Anaerobic Capacity) คือ ความสามารถของกล้ามเนื้อที่ได้ประกอบกิจกรรมซ้ำซากได้เป็นระยะเวลานานอย่างมีประสิทธิภาพ
           - ความคล่องตัว (Agility) คือ ความสามารถของร่างกายที่จะบังคับควบคุมในการเปลี่ยนแปลงทิศทางการเคลื่อนที่ได้ด้วยความรวดเร็วและแน่น
           - ความอ่อนตัว (Flexibility) คือ ความสามารถขอข้อต่อต่างๆ ในการที่จะเคลื่อนไหวได้อย่างกว้างขวาง
           - ความอดทนทั่วไป (General endurance) คือ ความสามารถในการทำงานของระบบต่าง ในร่างกายที่ทำงานได้นานและมีประสิทธิภาพ

       นักกีฬาแบดมินตัน มาบอกข้อดีในการใช้วิทยาศาสตร์การกีฬามาเกี่ยวข้องในการออกกำลังกาย


  
                                 http://www.youtube.com/watch?v=8NJzu8QXoxY


Creative Commons License



วิทยาศาสตร์การกีฬา by กิตติชัย 5401037 is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Unported License.               


        การอบอุ่นร่างกาย (Warm-Up)

                    
             การเคลื่อนไหวของร่างกาย บางครั้งใช้ปฏิกิริยาอัตโนมัติโดยที่เราไม่รู้ตัว แต่การใช้ปฏิกิริยาอัตโนมัตินี้ อาจจะใช้การไม่ได้ ถ้าร่างกายต้องการออกกำลังกายที่หนักในทันทีทันใด โดยมีวิธีการอบอุ่นร่างกายที่ได้ผล คือ จะต้องให้ร่างกายค่อยๆปรับตัวเข้ากับสภาพที่ร่างกายจะต้องทำงานหนัก ท่าที่ใช้ต้องง่าย ไม่ต้องใช้ทักษะมาก หรือไม่มีการตัดสินใจที่ยุ่งยาก และต้องไม่ทำให้ร่างกายเกิดความเมื้อยล้า  การอบอุ่นร่างกายที่ดีจะต้องทำให้ร่างกายสดชื่น รู้สึกสบาย อาชีพของผู้ออกกำลังกายหรือนักกีฬาก็มีอิทธิพลต่อเวลาและปริมาณของการอบอุ่นร่างกาย นักกีฬาที่ไม่ได้ประกอบอาชีพที่ต้องออกแรงหนัก ต้องอบอุ่นให้มากกว่านักกีฬาที่มีอาชีพที่ออกกำลัง นอกจากนี้ วิธีการอบอุ่นร่างกายควรแตกต่างกันออกไปตามสภาพความสมบูรณ์ทางกายและประสาทอีกด้วย นักกีฬาที่รู้สึกเหนื่อยง่าย ควรอบอุ่นร่างกายช้าๆ ใช้เวลา น้อย ผู้ที่มีความล้าทางสมองควรเปลี่ยนท่าการเคลื่อนไหวให้มากที่สุด นักกีฬาแต่ละคนใช้เวลาการปรับตัวไม่เท่ากัน หรือผู้เล่นคนหนึ่งอาจจะเคลื่อนไหวลำตัวส่วนบนได้ช้า หรืออีกคนหนึ่งอาจจะมีจุดอ่อนที่ลำตัวท่อนล่าง
                      นอกจากนี้การอบอุ่นร่างกายยังต้องคำนึงถึงสภาพดินฟ้าอากาสอีกด้วย ถ้าอากาศหนาวเย็น ควรอบอุ่นร่างกายช้าๆ ระยะเวลาของการอบอุ่นจะเป็น 10-30 นาที และต้องคำนึงถึงเวลาในขณะที่ฝึกด้วย เช่น ตอนเช้าร่างกายผ่านการพักผ่อนมาตลอดคืน ทำให้การเคลื่อนไหวเชื่องช้ากว่าตอนบ่าย ดังนั้น เวลาที่ใช้อบอุ่นร่างกายในตอนเช้าจึงควรนานกว่าในตอนบ่าย สำหรับการเลือกท่าอบอุ่นร่างกายและระยะเวลา ควรขึ้นอยู่กับลักษณะของการฝึก เช่น ถ้าการฝึกเน้นทางด้านเทคนิค ควรใช้ท่าอบอุ่นทั่วไปและท่าเฉพาะ แต่ท่าออกกกำลังการควรยืดยุ่นได้พอสมควร








           ข้อปฏิบัติ 9 ประการ สำหรับผู้ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

                    เพื่อให้การออกกำลังกายได้ผลเต็มที่ และไม่เป้นอันตรายต่อสุขภาพ ขอให้พึงยึดข้อปฏิบัติ 10 ประการ ดังนี้
          1. การประมาณตน สภาพร่างกายและความเหมาะสมกับกีฬาชนิดต่างๆ ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แม้ในคนเดียวกันในช่วงเวลาหนึ่งกับอีกช่วงเวลาหนึ่ง ก็แตกต่างกัน การเพิ่มผลของสมรรถภาพจากการฝึกซ้อมมีกฏตายตัวว่า จะต้องเป็นไปตามความเหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
          2. การแต่งกาย กีฬาแต่ละชนิดต่างก็มีแบบของเครื่องแต่งกายที่ต่างกัน ในด้านการเคลื่อนไหว เครื่องแต่งกายที่เหมาะสมรัดกุม ย่อมทำให้การเคลื่อนไหวมีประสิทธิภาพดีกว่า และยังเป็นการป้องกันอันตรายอันอาจเกิดจากอุบัติภัยจากการกีฬา ในด้านความอดทน จะต้องคำนึงถึงการระบายความร้อนออกจากร่างกายเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ชุดวอร์มอย่างพร่ำเพรื่อ
         3. เลือกเวลา ดินฟ้าอากาศ หมายถึง การกำหนดเวลาฝึกซ้อมที่แน่นอน และควรจะเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน เพราะมันมีผลต่อการปรับตัวของร่างกาย แต่มีข้อแนะนำว่า ในสภาพอากาศเย็นไม่เหมาะสมสำหรับการฝึกความอดทน การเลือกอากาศอาจทำได้ยาก แต่การเลือกอากาศอาจทำได้ยาก แต่การเลือกเวลาทุกคนสามารถทำได้ยาก
         4. สภาพของกระเพาะอาหาร ตามหลักทั่วไป ควรให้งดอาหารหนักก่อนการแข่งขันหรืออกกำลังกายประมาณ 3 ชั่วโมง สำหรับกีฬาที่ต้องใช้ความอดทนนานเป็นชั่วโมง เช่น วิ่งมารทอน จักรยานทางไกล ร่ายกายต้องใช้พลังงานมาก หากท้องว่างอยู่นานอาจทำให้พลังงานสำรองหมดไป
        5. การดื่มน้ำ จากการทดลองทั้งในห้องปฏิบัติการและในสนามเกี่ยวกับสมรรถภาพของร่างกายที่น้ำน้ำ และได้ข้อสรุปตรงกัน คือ การขาดน้ำทำให้สมรรถภาพลดลง การให้น้ำชดเชยส่วนที่
ขาดทำให้สมรรถภาพไม่ลดลง น้ำสำรองในร่างกายมีปริมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัว ดังนั้น การเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกายใดๆ ที่มีการเสียน้ำไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว และก่อนการแข่งขันร่างกายอยู่ในสภาพที่ไม่ขาดน้ำ หรือในระหว่างเล่นไม่เกิดการกระหายน้ำ ผู้เล่นไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำในระหว่างนั้น
       6. ความเจ็บป่วย อาการแพ้อากาศ เป็นหวัด ถ้าไม่มีอาการอื่นร่วม เช่น มีไข้ เจ็บคอ ไอ อ่อนเพลีย ก็สามารถฝึกซ้อมหรือออกกำลังกายได้ตามปกติ แต่ความเจ็บป่วยทุกชนิดทำให้สมรรถภาพลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นไข้ ซึ่งร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ หัวใจต้องทำงานมากขึ้นเพื่อระบายความร้อน เมื่อไปออกกำลังเข้า การระบายความร้อนและหัวใจจึงต้อวทำงานหนักขึ้น แม้แต่งานเบาๆ ก็อาจจะกลายเป็นงานหนักเกินไปได้ และถ้าหากเป็นไข้ที่เกิดจากเชื้อโรค การไหลเวียนของเลือดที่เพิ่มขึ้นจากการออกกำลังกาย อาจะทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย ก่อให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย หรือในอวัยวะที่สำคัญ ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตในที่สุด
        7. ด้านจิตใจ ตามหลักจิตวิทยา การออกกำลังกายมีผลต่อจิตใจในการลดความเครียดดังนั้น ระหว่างการฝึกซ้อมและการออกกำลังกาย จึงควรทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง พร้อมที่จะเล่นพยายามขจัดปัญหาเรื่องที่รบกวนจิตใจ หากไม่สามารถขจัดได้จริงๆ ก็ควรงดการฝึกซ้อม เพราะจะเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
        8. ความสม่ำเสมอ ไม่ว่าการฝึกซ้อมเพื่อการแข่งขันหรือเพื่อสุขภาพก็ตาม ต้องพยายามรักษาความสม่ำเสมอไว้ การฝึกหนักติดต่อกัน 1 เดือนแล้วหยุดไปครึ่งเดือน แล้วมาเริ่มต้นใหม่ จะเริ่มเท่ากับความหนักครั้งสุดท้ายก่อนหยุดไม่ได้ แต่จะต้องลดความให้ต่ำกว่าการฝึกครั้งสุดท้าย แล้วจึงค่อยๆเพิ่ม ลักษณะที่ซ้อมติดต่อกันแล้วก็หยุดดังกล่าว เราจะพบบ่อยใยนักกีฬาไทย เพราะเมื่อหมดการแข่งขันก็หยุดฝึกซ้อม และจะเริ่มใหม่เมื่อจะเริ่มแข่งขันอีกโอกาสที่จะเพิ่มสมรรถภาพให้สูงกว่าดิมจึงไม่มี เพราะผลของการเพิ่มสมรรถภาพ นอกจากจะขึ้นอยู่กับปริมาณความหนักของการฝึกซ้อมแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมออีกด้วย
        9. การพักผ่อน หลักจากการฝึกซ้อมและการออกกำลังกายแล้ว จำเป็นต้องมีการพักผ่อนให้เพียงพอ โดยมีหลักสังเกตุดังนี้ ก่อนการฝึกซ้อมครั้งต่อไป ร่างกายจะต้องสดชื่นอยู่ในสภาพเดิมหรือดีกว่าเดิม การฝึกซ้อมวันต่อมาจึงจะกระทำให้มากขึ้นตามลำดับ เนื่องจากการฝึกซ้อมและการอกกำลังกาย ต้องเสียพลังงานสำรองไป จำเป็นต้องมีการชดเชย รวมทั้งซ่อมแซ่มส่วนที่สึกหรอและเสริมสร้างให้แข็งแรงยิ่งขึ้น กระบวนการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในขณะที่ร่างกายมีการพักผ่อนอย่างเพียงพอเท่านั้น